ความรู้ทรัพยากรบุคคล HR Infographic
|
|
|
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของ HR อย่างไรบ้าง เราจะมีวิธีรับมือกับโลกในยุคหุ่นยนต์ได้มากแค่ไหน
|
ไตรมาสแรกของปี 2020 องค์การเผชิญปัจจัยลบหลากหลาย ส่งผลต่อความกังวลในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเกิดข้อสงสัยที่คนทำงาน HR ต้องการแสวงหาแนวทางจัดการและแก้ไข
PMAT ขอนำเสนอผลการสำรวจผลกระทบ ความกังวล และ ข้อสังสัยของคน HR ต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาวะวิกฤติ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 |
ทำอย่างไรเมื่อสงกรานต์กลายเป็นวันทำงาน ช่วงวิกฤต COVID-19
เรากำลังอยู่ในช่วงที่วิกฤตต่างๆ ถาโถมเข้ามา องค์กร และ HR ควรมีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงทีนะคะ |
เรากำลังก้าวสู่การทำงานในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว หลายสิ่งที่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นใน 3-5 ปีข้างหน้า เกิดขึ้นเร็วกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้ เมื่อเราทุกคนถูกสถานการณ์ฉุกเฉินภาคบังคับเข้าจู่โจม เราจึงมีความจำเป็นต้องปรับรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงาน อย่างรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อความอยู่รอดขององค์การ
|
การระบาดของโรค COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลกระทบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงวิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือ การดำเนินชีวิตของคนในสังคม หลังพ้นวิกฤตครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” (FutureTales Lab by MQDC) หรือ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ภายใต้บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) พาร่วมหาคำตอบผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบและรวบรวมข้อมูลของสังคมในอนาคตมาเป็น 10 เทรนด์ที่น่าสนใจ เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือในทุกการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
จากการระบาดของ COVID-19 ทำให้กว่า 4 ใน 5 ของคนทำงานทั่วโลกได้รับผลกระทบที่เกิดจากการ Lockdown และการ Work form home
องค์กรส่วนใหญ่รับมือกับวิกฤตนี้ โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักเป็นอันดับแรก ซึ่ง ณ ปัจจุบัน องค์กรเริ่มที่จะมีการวางแผนการจัดการกับความท้าทายที่จะต้องฟื้นฟูธุรกิจหลังจากนี้ |
ไตรมาสแรกของปี 2020 การบริหารงานบุคคลก็เข้าสู่เรื่องท้าทายในรอบหลายปี วิชาชีพบุคคล หรือแม้กระทั่งผู้บริหารระดับโลกยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ COVID-19 ขึ้น (หรืออาจจะคาดว่าเกิดขึ้น แต่ไม่ได้คาดว่าจะมีการระบาดไปทั่วโลกในอัตราที่น่ากลัวขนาดนี้) สิ่งหนึ่งที่กระทบกับการทำงานของวิชาชีพ HR เรื่องหนึ่งคือ ผลกระทบของ Supply Chain ในการทำงานทั้งหมด อาทิ การ Lockdown พื้นที่ ที่กระทบต่อการขนส่ง การสร้าง Physical Distance ที่กระทบต่อการจัด Workplace หรือที่นั่งในการทำงานจนกระทั่งนโยบาย Work From Home ที่เคยเป็นที่ถกเถียงกันมานานว่าสามารถทำได้จริง ๆ หรือไม่? หากทำได้จริง Productivity ในการทำงานจะลดลงหรือไม่? ก็ได้รับการทดสอบแบบไม่มีใครตั้งตัวในช่วงสองถึงสามเดือนที่ผ่านมานี้เอง ทุกสิ่งที่อย่างกลายเป็นผลกระทบกับชีวิตการทำงานของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกระทั่งเกิดความคุ้นเคยหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า New Normal (วิถีชีวิตใหม่)
ความท้าทายของงาน HR ยุคนี้จึงเป็นการออกแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้ New Normal นั่นเอง |
บริษัท ZF Friedrichshafen (แซดเอฟ ฟรีดริชชาเฟ่น) เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในส่วนของระบบบังคับล้อและถุงลมนิรภัย นอกจากนี้ยังเป็นผลิตชิ้นส่วนในรถยนต์ประเภทไฮบริดอีกด้วย โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศเยอรมนี บริษัทได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อส่งผลกระทบต่อภาคยานยนต์และในปี 2562 บริษัทได้มีการปลดพนักงานหลายครั้ง เช่นเดียวกับบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายที่ตอนนี้ได้มีการปลดพนักงานออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในเชิงลบ สถานการณ์ของ ZF ไม่ค่อยดีนัก บริษัทไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการเติบโตของธุรกิจในช่วงสองปีนี้
|
SoftBank เป็นบริษัทข้ามชาติด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารสัญชาติญี่ปุ่น ให้บริการบรอดแบนด์ โทรศัพท์คู่สาย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี การเงิน การตลาด สื่อ ตลอดจนบริการต่าง ๆ อีกมายมาย ในปี พ.ศ. 2558 SoftBank ได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 62 ของโลก
|
ที่ทำงานเป็นที่ที่หนึ่งที่เราใช้เวลา 1 ใน 3 ของแต่ละวัน และอย่างน้อย 90,000 ชั่วโมงในชีวิตของเรา ซึ่งแน่นอนว่การทำงานนั้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราอย่างแน่นอน ไม่ว่าสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่จะส่งผลกระทบต่อการทำงาน และชีวิตประจำวันอย่างไร ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเครียด ท้อแท้ กดดัน หรือมีความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน จึงขอนำเสนอเทคนิคง่ายๆ ในการดูแลตัวเอง สร้างกำลังใจ ในวันทำงานให้มีความสุข สดใส ได้ด้วย 3 เคล็ดลับ
|
การสร้างวัฒนธรรมให้พนักงานมีโอกาส “ลองผิดลองถูก” ซึ่งในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึงเราจะปล่อยให้ทุกคนทำงานแบบเดาสุ่ม หรือนั่งเทียนมั่วตัวเลขนะครับโปรดอย่าเข้าใจผิด คำว่าลองผิดลองถูกคือ การทดสอบสมมติฐานแบบวิทยาศาสตร์โดยมีขั้นตอนแบบงานวิจัย นั่นคือเราต้องมีกระบวนการทดสอบที่มีความเหมาะสมในสภาพแวดล้อม และบริบทนั้น ๆ ขององค์กร ซึ่งแตกต่างจากกันออกไป
|
ถ้าพูดถึงขยะที่เกิดขึ้นมากในช่วง COVID-19 หลายคนอาจจะนึกถึงหน้ากากอนามัย แต่จริง ๆ แล้วตั้งแต่ช่วงเกิดเหตุการณ์ COVID-19 ไปจนถึงการล็อคดาวน์เมือง ขยะเดลิเวอรี่อันเกิดจากการบริการอาหารแบบส่งถึงที่ (Food delivery) นั้นกลับขยายตัวอย่างรวดเร็วไม่ต่างจากธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่
|
เชื่อได้ว่าการสั่งอาหารจากแอพพลิเคชั่นส่งอาหารอย่าง LINE MAN, Grab Food, Get, Food Panda หรือการโทรไปสั่งอาหารตามสั่งร้านป้า แล้วให้พี่วินมอเตอร์ไซค์ไปรับ แล้วมาส่งเป็นมื้อกลางวันหรือมื้อเย็นที่ทำงานอาจกลายเป็น New Normal ของหนุ่มสาวชาวออฟฟิศบางคนมาสักพักใหญ่แล้ว ทว่าในช่วงสถานการณ์ COVID–19 หลายแอพพลิเคชั่นเน้นการทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดสั่งส่งกันอย่างคึกคักทั้งลดค่าอาหาร ลดค่าส่ง ซื้อ 1 แถม 1 ไปจนถึงไม่คิดค่าส่ง แม้กระทั่งร้านอาหารชื่อดังที่มีแอพพลิเคชั่นหรือช่องทางสำหรับสั่งและส่งอาหารของตนเองที่ไม่ได้ผ่าน Food Delivery App ก็ยังจัดโปรโมชั่นส่งฟรี ลด แลก แจก แถมกันอยู่พักใหญ่ ๆ จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มคลี่คลายบ้างแล้วโปรโมชั่นเหล่านั้นก็ยังมีให้เห็นอยู่และมีทีท่าว่าจะอยู่ไปอีกสักพัก
|
การตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ วิธีที่จะทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างที่ตั้งใจไว้ โดยสามารถเริ่มต้นจากการสร้างสิ่งเล็กๆ ที่สามารถทำได้ไม่ยาก เป็นระยะเวลาหนึ่งจนเป็นนิสัยจะทำให้เราเดินทางเข้าสู่เป้าหมายที่ไม่ว่าจะไกลหรือยิ่งใหญ่เพียงใด ได้ชัดเจนขึ้น
|
คำว่า Uncertainty หรือ ความไม่แน่นอน นั้นมันเริ่มชัดเจนกับการทำงานของพวกเรามาขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา สมัยก่อนงาน HR มีความซับซ้อนน้อยกว่าปัจจุบันเนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ล้วนดำเนินตามแผนกลยุทธ์ที่ผู้บริหารสามารถกำหนดได้จากการมองไปข้างหน้ายาว ๆ เพื่อคิดการเตรียมการรับมือเรื่องต่าง ๆ แต่ภายใต้ Digital Disruption ที่เริ่มเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อย ๆ การทำงานของ HR ก็มีผลให้ต้องปรับตัวตามไปด้วย สมัยนี้พนักงานเข้างานใหม่สามารถ Onboarding หรือเข้าโปรแกรมรับพนักงานใหม่ได้จากที่บ้านผ่านระบบ Video Conference ที่สามารถแสดงช้อมูลทั้งผ่านหน้าจอ และมีภาพเคลื่อนไหวให้ได้ดู หรือบางองค์กรมีคู่มือพนักงานออนไลน์ที่สามารถให้พนักงานอ่านทุกเรื่องตั้งแต่การเบิกค่าใช้จ่าย การเบิกค่าเดินทาง การขอย้ายตำแหน่งงาน การขึ้นค่าจ้างและเงินเดือน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่เป็น 100% Remote work (หรือเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาด้วยนโยบายที่ว่า พนักงานทุกคนทำงานจากที่ไหนก็ได้นั่นเอง) นามว่า Gitlab นั้นได้ทำการเผยแพร่คู่มือพนักงาน (จริง ๆ คือคู่มือองค์กรเลยด้วยซ้ำเพราะมีทุกเรื่องเขียนในนั้นจริง ๆ ) ให้ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://about.gitlab.com/handbook/ โดยภายในมีการระบุตั้งแต่ หากคุณเป็น CEO คุณต้องทำอะไรบ้าง ไปจนถึงจะขอเบิกคอมพิวเตอร์ใช้งานจะต้องติดต่อใคร หรือถ้าอยากจะนัดหมายคุยกับ HR จะต้องทำอย่างไร
|
ความเครียดเป็นสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เราต้องจัดการเวลาในการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ การติดต่อกับหัวหน้างาน และการทำให้ครอบครัวของเรามีความสุข เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเผชิญกับความเครียดที่อาจจะเกิดเป็นปัญหาเชิงสุขภาพจิตได้ เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกเครียดในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตามเราอาจคุ้นเคยกับความเครียด ความวิตกกังวลและเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและกิจวัตรประจำวันของเราอย่างที่เราไม่รู้ตัว การยอมรับว่าเราอาจจะกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามมีสัญญาณหรือตัวบ่งชี้เริ่มต้นบางอย่างสามารถที่จะช่วยให้เราไตร่ตรองว่าเรากำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่
|
ปัจจุบันหากท่านผู้อ่านลอง search Google ด้วยคำว่า “Agile HR” ท่านจะพบผลลัพธ์จากการค้นหามากกว่า 63 ล้านบทความ (รวมไปถึงบทความภาษาไทยด้วย!) เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้พอตัวว่าหลักการที่เราเรียกว่า Agile software development นั้น ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับแค่เรื่องเชิงเทคนิคอีกต่อไป แต่ยังสามารถนำเอาหลักคิดมาประยุกต์ใช้กับงาน HR ได้อีกด้วย ความนิยมของหลักการ Agile นั้นปรากฏตั้งแต่ช่วงสามปีที่แล้วโดย Deloitte ได้ทำการสำรวจพบว่า 79% ของผู้บริหารทั่วโลกนั้นให้ความสำคัญกับ Agile โดยกล่าวว่าจะเป็นเครื่องมือในการบริหารผลงานขององค์กรในอนาคต
|
ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น รายงานของ Pricewaterhouse Coopers ทำนายว่าภายในปี 2030 ปัญญาประดิษฐ์จะสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจโลกที่ 15.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (Tunjaya, 2018) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าปัญญาประดิษฐ์จะมีส่วนร่วมในชีวิตของผู้คน ระบบธุรกิจ ระบบสังคมและอื่น ๆ
|
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 2/6,2/7 ซอยลาดพร้าว 113 (ชื่นสุข) ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทรศัพท์: 0-2374-0855 www.pmat.or.th อีเมล info@pmat.or.th เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: 0993000132556 (สำนักงานใหญ่) | นโยบายความเป็นส่วนตัว Powered by DIMS |