หน้าหลัก เกี่ยวกับสมาคม
|
|
ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2507 ส่วนแรงงานกรมประชาสงเคราะห์ในปัจจุบันคือกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน ได้จัดการอบรมการบริหารงานบุคคล ให้กับผู้ที่ประกอบอาชีพด้านงานบุคคล ในสถานประกอบการต่างๆ จำนวน 300 คน ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมครั้งนี้ได้ ร่วมกันจัดตั้ง สถาบันวิชาชีพการบริหารงานบุคคลในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2508 โดยใช้ชื่อ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (ส.จ.ท.) สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (Personnel Management Association of Thailand : PMAT) เป็นสมาคมวิชาชีพสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลทุกระดับ และนักวิชาการ ตลอดจนคณาจารย์ต่างๆ สมาคมฯ ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสถาบันที่เป็นกลาง เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและเป็นเลิศในทางวิชาการ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการให้คำปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ สมาคมฯ ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมหลักการ และการปฎิบัติของการจัดการงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย ให้ก้าวหน้า การให้การศึกษาหาความรู้ทาง ด้านวิชาการ เพิ่มพูนสมรรถภาพ และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในอันที่จะได้นำ วิธีการจัดการงานบุคคล และแรงงานสัมพันธ์ที่ดีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และถูกต้อง เป็นศูนย์กลางสำหรับสมาชิก จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ในเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการงานบุคคล และแรงงานสัมพันธ์ประสานงาน และร่วมมือกับ สถาบันวิชาชีพอื่น เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือในเชิงวิชาชีพด้านการบริหารงานบุคคลสำหรับสมาชิก การบริหารงานของสมาคมฯ คณะกรรมการบริหารของสมาคมฯ ประกอบด้วย คณะกรรมการประมาณ 25 ท่าน ที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก เป็นผู้วางนโยบาย และการบริหารงานสมาคมฯ กรรมการแต่ละท่านมีวาระการเป็นกรรมการท่านละ 2 ปี และมีคณะที่ปรึกษาซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพบริหารบุคคลมาร่วมให้คำปรึกษาการดำเนินงานของสมาคมฯ อีก 15 ท่าน |
วิสัยทัศน์
"พัฒนาและผลักดันให้วิชาชีพการบริหารงานบุคคลในประเทศไทย บรรลุระดับมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ" พันธกิจของสมาคมฯ
|
โครงสร้างการบริหาร
|
ที่ปรึกษาสมาคม
รายนามที่ปรึกษาสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ศ.สมพงษ์ จุ้ยศิริ คุณประกิต วิริโยทัย คุณสุชาดา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา คุณไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น คุณสมิต สัชฌุกร คุณบำรุง รามศรี คุณโชคดี เดชกำแหง คุณวรพงษ์ รวิรัฐ ดร.จำเนียร จวงตระกูล คุณธัญญา ผลอนันต์ ดร.อำนวย คงมีสุข ดร.ธีระชัย เชมนะสิริ คุณชำนาญ พิมลรัตน์ ผศ.ขจรศักดิ์ หาญณรงค์ คุณมาริสา เชาว์พฤฒิพงศ์ |
กรรมการบริหารสมาคม
คณะกรรมการบริหารสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559-2560
|
รายนามนายกสมาคม
รายนามนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย อดีต-ปัจจุบัน
|
จรรยาบรรณวิชาชีพนักบริหารทรัพยากรบุคคล
จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ การบริหารทรัพยากรบุคคล จัดทำและเห็นชอบโดย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) และสถาบัน สมาคม และชมรมการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อประกาศใช้ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. คำนิยาม1.1 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล” คือประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพนี้กำหนดขึ้นทั้งที่เป็นและไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิกและผู้ประกอบวิชาชีพนี้ 1.2 “องค์การ” หมายถึง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน สมาคม สถาบันอิสระ ชมรม และกลุ่ม ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย 2. หลักการทั่วไป 2.1 จรรยาบรรณวิชาชีพนี้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดหลักการ และแนวทางความประพฤติที่พึงกระทำและไม่พึงกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ ประกอบวิชาชีพนี้ทุกระดับ 2.2 จรรยาบรรณวิชาชีพนี้จัดทำเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติกว้างๆ เท่านั้น ไม่สามารถระบุรายละเอียดหรือครอบคลุมการกระทำทุกกรณีได้ หากมีข้อสงสัยประการใดสอบถามเพื่อความกระจ่างได้ที่องค์การที่ตนเองสังกัด หรือเกี่ยวข้อง 2.3 เชิญผู้แทนจากองค์การ / หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมนักบริหารงาน บุคคลต่างๆ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย กพ. สมาคมนักบริหารงานบุคคล รัฐวิสาหกิจฯลฯ 2.4 ดำเนินการจัดทำร่างจรรยาบรรณวิชาชีพ HR ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ส.ค. 48 2.5 จัดสัมมนา Focus Group 2.6 นำเสนอต่อที่ประชุมกรรมการเสริมสร้างนักบริหารงานบุคคลให้เป็นมืออาชีพ พ.ย. 48 2.7 นำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อขอสัตยาบรรณต่อที่ประชุมใหญ่ ในงานสัมมนา ครบรอบ 40 ปี PMAT 3. จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติ 3.1 พฤติกรรมส่วนบุคคลและอาชีพ 3.1.1 ดำรงตนอย่างเหมาะสมในสังคม 3.1.2 ศรัทธาและเคารพต่อวิชาชีพของตน 3.1.3 เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับการทำงาน นโยบายและคำสั่งอันชอบธรรมของผู้มีอำนาจสั่งการ 3.1.4 ประกอบวิชาชีพด้วยเจตนารมณ์ที่ดีและเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึง เพศ ฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคมและ การเมือง 3.1.5 ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความซื่อสัตย์ และ สุจริต 3.1.6 ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงสิทธิขององค์การ สถาบัน และบุคคลอื่น 3.1.7 รักษาและปฏิบัติตามสัญญาและข้อตกลงกับสถาบันหรือบุคคลอื่น 3.1.8 ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเข้าถึง หรือใช้ช่องทางการสื่อสารขององค์การอย่างเคร่งครัด 3.1.9 ใฝ่หาและพัฒนาความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 3.1.10 พึงช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 3.1.11 ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติคุณ ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงแห่งวิชาชีพ 3.2 ความขัดแย้งของกิจกรรมและผลประโยชน์ 3.2.1 พึงร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์การที่สังกัด 3.2.2 ไม่รับหรือดำรงตำแหน่งใดๆ ในองค์การที่ดำเนินการเพื่อแสวงหากำไร โดยมิได้รับความเห็นชอบจากองค์การ 3.2.3 ไม่ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจ หรืออาชีพอื่นที่เป็นการแข่งขัน หรือขัดต่อผลประโยชน์ขององค์การที่ตนสังกัดอยู่ ยกเว้นกรณีที่ได้รับการยินยอมอย่างเป็นทางการ 3.2.4 ไม่รับของขวัญ รางวัล และผลประโยชน์ตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตน 3.2.5 ไม่เอื้อประโยชน์แก่องค์การหรือบุคคลอื่นโดยมิชอบในการประกอบวิชาชีพ 3.3 การใช้และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลและองค์การ 3.3.1 เคารพและรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากการจ้างงาน 3.3.2 ไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลองค์การโดยมิชอบ ยกเว้นเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือได้รับความเห็นชอบ 3.3.3 ไม่ใช้หรือแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากการเข้าถึงข้อมูลขององค์การ เนื่องจากการดำรงตำแหน่ง หรือหน้าที่งานของตนเอง 3.3.4 พึงระมัดระวังและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ของข้อมูลก่อนเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และองค์การแก่ผู้อื่น 3.4 การใช้ทรัพยากรองค์การ 3.4.1 ใช้ทรัพยากรขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต ถูกต้องตามกฎหมาย และข้อบังคับการทำงาน 3.4.2 ไม่ใช้ทรัพยากรขององค์การเพื่อประโยชน์ส่วนตน 3.5 ความรับผิดชอบเมื่อพ้นสภาพจากองค์การ 3.5.1 ไม่แสวงประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งเพื่อวางแผน หรือได้มาซึ่งตำแหน่งที่ดีกว่าในองค์การอื่นที่มีผลประโยชน์ขัดกัน 3.5.2 ไม่เปิดเผยความลับและข้อมูลขององค์การเดิมในทางมิชอบ 3.6 การประพฤติผิดจรรยาบรรณ 3.6.1 การประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพนี้ อาจนำไปสู่การพิจารณาลงโทษสถานเบา หรือสถานหนักได้ดังนี้ - ว่ากล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร - ภาคทัณฑ์ - ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิกสามัญหรือการเป็นตัวแทนของสมาชิกสถาบัน - พักใบประกอบวิชาชีพโดยมีกำหนดระยะเวลา (หากมีใบประกอบวิชาชีพ) - เพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ (หากมี) 3.6.2 ผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพนี้ อาจต้องโทษตามระเบียบข้อบังคับขององค์การที่สังกัดหรือกฎหมายบ้านเมืองได้ หมายเหตุ : มาตรการและขั้นตอนการลงโทษโดยละเอียดจัดทำเป็นระเบียบต่างหาก |
ติดต่อสมาคมได้ที่
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 300/2-3 ซอยลาดพร้าว 132 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 Phone: 0-2374-0855 Fax: 0-2374-0855 ต่อ 8 www.pmat.or.th Latitude, Longitude : 13.7702979,100.6346587 |
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 2/6,2/7 ซอยลาดพร้าว 113 (ชื่นสุข) ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทรศัพท์: 0-2374-0855 www.pmat.or.th อีเมล info@pmat.or.th เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: 0993000132556 (สำนักงานใหญ่) | นโยบายความเป็นส่วนตัว Powered by DIMS |