ความรู้ทรัพยากรบุคคล HR Infographic
|
|
ประวัติศาสตร์กำลังจะก้าวซ้ำรอยเดิมที่มันเคยเดินผ่านมาแล้วจริงหรือไม่?
เรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตเศรษฐกิจระลอกใหญ่อีกครั้งอย่างนั้นหรือ? คำถามต่าง ๆ ที่โถมเข้ามาราวกับไม่ทันให้พวกเราได้ทันตั้งตัว การรับมือกับโรคระบาดตลอดช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาก็ยังไม่คลี่คลายดี ในขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมกำลังเริ่มที่จะฟื้นฟู ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาอีก การระบาดระลอกใหม่ที่อาจส่งผลกระทบอีกครั้ง แต่ครั้งนี้พวกเรามีภูมิคุ้มกันบางส่วนแล้วไม่มากก็น้อย แต่คำถามที่สำคัญไปมากกว่านั้นคือ ในฐานะ HR เราจะนำพาพนักงานขององค์กรเราไปสู่อนาคตข้างหน้าท่ามกลางภาวะวิกฤตนี้อย่างไร? |
สวัสดีนักอ่านที่รักทุกท่าน ไม่ว่าท่านจะเป็นวิชาชีพการบุคคล ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน หรือตำแหน่งใด ๆ ในองค์กรก็แล้วแต่ ปี 2021 ที่เข้ามาในชีวิตพวกเราทุกคนนั้นคงไม่ต่างจากปี 2020 มากนัก ข่าวดีคือพวกเราทุกคนล้วนแล้วแต่ผ่านมันมาพร้อมจุดเรียนรู้ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการยามวิกฤติ หรือการจัดการทำงานจากที่บ้านตามกระแส social distancing หรือพฤติกรรมแบบ new normal ที่เกิดขึ้น
แน่นอนว่าความแตกต่างที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นคงแตกต่างกันตามวาระของประเภทอุตสาหกรรมและลักษณะทางธุรกิจที่ต่างกันตามการบริหารจัดการ บางคนอาจได้รับผลกระทบน้อย และในขณะเดียวกันหลายคนก็ได้รับผลกระทบที่หนักหนาสาหัส อย่างไรก็ดี ในฐานะคนที่ทำหน้าที่ดูแลคนในองค์กรนั้น สำหรับปี 2021 ทางทีมงานได้สรุป “ของขวัญปีใหม่” 3 อย่างที่ในฐานะ HR ควรจะต้องมอบให้กับองค์กรของท่าน เพื่อสร้าง resilience หรือการรักษาจิตใจ และสภาพแวดล้อมในการทำงานในองค์กรของท่านให้กลับขึ้นมาสู้กลับความผันผวนที่รออยู่ข้างหน้าต่อไปได้ |
การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้สร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจโลกและส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตและการดำรงชีวิตจำนวนมาก การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคมนี้ได้ทำลายตำแหน่งงานนับล้านและยังทำให้องค์กรหลายล้านแห่งตกอยู่ในความเสี่ยง “รายงานอนาคตของงานในปี 2020” โดย World Economic Forum กล่าวว่างาน 85 ล้านตำแหน่งอาจซ้ำซ้อนกันและ 50% ของพนักงานทั้งหมดจะต้องปรับตัวไปสู่ทักษะใหม่ภายในปี 2568 ซึ่งความต้องการคนในทักษะใหม่นี้จะเพิ่มขึ้นถึง 1 พันล้านคนภายในปี 2573 ซึ่งทักษะที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในปี 2564 ได้แก่ :
|
ความท้าทายของวงการ HR ที่มีเสมอมาในยุคที่พนักงานไม่สามารถมาทำงานที่ออฟฟิศได้ คือการพัฒนาด้าน Soft side หรือ Soft Skill ทักษะที่เกี่ยวกับเรื่อง mindset หรือ way of works ในการทำงาน รวมไปถึงการพัฒนาเพื่อสร้างความผูกพันและ engagement เช่นกัน การทำงานจากที่บ้านเป็นการสร้างระยะห่างทางสังคมที่ดูเหมือนจะเข้ามาเป็นความท้าทายของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
|
ในปี 2021 นี้ไม่ว่าจะเป็นผู้คนหรือองค์กรต่าง ๆ ได้มีบทเรียนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ และวิกฤต ซึ่งท่ามกลางความปั่นป่วนทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ทำให้ เศรษฐกิจ องค์กร และวิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างเกินความคาดหมาย
|
การทำ performance coaching หรือ performance feedback เป็นกิจกรรมที่ผู้จัดการหลาย ๆ คนกังวลเสมอ เนื่องจากเป็นกระบวนการสื่อสารที่จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความขาดหวังของพนักงานตลอดเวลา การให้ feedback บางครั้งก็ต้องระมัดระวังเพราะอาจทำให้ทีมเสียขวัญกำลังใจได้ การให้คำแนะนำเพื่อพัฒนา หรือ constructive feedback นั้นเป็นการสร้างบทสนทนาที่ค่อนข้างใช้ได้ผลในการช่วย coaching พนักงานให้สามารถเข้าใจเป้าหมายในการทำงานได้มากขึ้น หรือหากจะยกตัวอย่างคือ กระบวนการติเพื่อก่อย่อมต้องยกตัวอย่างให้พนักงานเห็นด้วยเช่นกัน
|
การระบาดทั่วโลก ของไวรัส COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ธุรกิจจำนวนมากเลือกที่จะชะลอการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล เนื่องจากวิธีการ "เก่า" ของพวกเขายังคงได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ภายหลังการระบาดใหญ่ได้เร่งอัตราการพัฒนาหลายสิ่งบนโลก และทำให้ธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรม ตระหนักว่า “หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากพอ” องค์กรจะ “ไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถแข่งขันได้” ดังนั้น “ดิจิทัล” จึงเป็นทางออกเดียวที่จะปลดล็อกความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในระยะยาว
ปัจจุบัน องค์กรต่างๆมีแนวโน้มที่จะมีความหลากหลายของพนักงานเพิ่มขึ้น (Diversity) ในขณะเดียวกันองค์กรต้องเผชิญความท้าทายรอบด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะมีทักษะที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในสายอาชีพของตน และ มีมากพอสำหรับการขับเคลื่อนองค์กรในยุค New Normal องค์กรทุกประเภทจึงมุ่ง แสวงหาเครื่องมือออนไลน์เพื่อสนับสนุน ให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ตามความสะดวกของแต่ละคน LMS จึงเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆที่องค์กร กำลังพิจารณาเลือกใช้ บทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ LMS และฉายภาพให้เห็นความยอดเยี่ยมของ LMS ในการส่งเสริมการเรียนรู้ |
จากเด็กหนุ่มผู้กลับมาพลิกฟื้นธุรกิจของครอบครัวในวัยเพียง 27 ปี ตัดสินใจเปิดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง จนกระทั่งกลายเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ติดรถไฟฟ้าอันดับหนึ่งของประเทศไทย เชื่อได้ว่าแนวคิดในการบริหารงานบริหารคนของนักธุรกิจผู้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจหลายยุคหลายสมัยผู้นี้จะเป็น Best Practice ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในสภาวะที่ทุกองค์กรยังต้องสู้กับวิกฤต COVID – 19 ลองมาฟังทัศนะแนวคิดเรื่องคนของคุณชานนท์ เรืองกฤตยา CEO Ananda Development PCL และ Member of Board of Director, SCB10x ผู้นำหลักการบริหารจากตัวหนังสือมาสู่การปฏิบัติจริง ผู้ชักธงนำเรือออกรบท่ามกลางน่านน้ำทะเลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมาหลายทศวรรษ สัมภาษณ์ โดยคุณทัสพร จันทรี
|
PRAKASH RAO ปัจจุบันอยู่ในตำแหน่ง Chief Operating Officer – SaaS ที่ PeopleStrong เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน HR Tech และ Digital Transformation รวมถึง Digital HR transformation เขามีประสบการณ์อันยาวนานกว่า 16 ปี เคยร่วมงานกับองค์กรชั้นนำในเอเชีย อาทิ Mphasis ในแผนก BPO ทั้งยังเป็นวิทยากรให้กับเวทีสัมมนาระดับประเทศและระดับนานาชาติให้ความรู้เกี่ยวกับ HR และ HR Tech รวมถึง AI in HR, Recruitment และ HR analytics สำหรับการร่วมงานกับ PeopleStrong เขารับบทบาทขับเคลื่อนทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน HR และ HR Tech เพื่อมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมและตอบสนองความมุ่งมั่นของ PeopleStrong ในการนำเสนอ #NewCodeofWork ให้กับลูกค้า นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนบทความที่ถูกนำไปอ้างอิงในสื่อด้าน HR และด้านธุรกิจ อีกมากมาย
|
ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึง ระบบการจัดการการเรียนรู้ (LMS), ระบบ IoT (Internet of Things) และแพลตฟอร์มการจัดการที่ใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ แม้ว่าบริการเหล่านี้จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีจุดประสงค์ร่วมกัน เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจสะดวกยิ่งขึ้น
แม้ว่าเครื่องมือดิจิทัลจะถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ผลจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing measures) และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปสู่การทำงานระยะไกล ทำให้ความนิยมในการใช้ digital tools เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด |
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ทั้งการแพร่ระบาดของ COVID 19 และผลสืบเนื่องมาจาก Disruptive World ส่งผลต่อ Business Ecosystem เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการดำเนินกิจกรรมและกิจการขององค์กร หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้องค์กรจะอยู่รอดได้คือ “ความรู้” ของคนในองค์กร เพื่อใช้ในการจัดการปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึง เพื่อวางแผนรับมือเหตุการณ์ในอนาคต
|
โลกยิ่งเปลี่ยน ยิ่งทวีคูณความท้าทายมากยิ่งขึ้น Gartner ได้ให้คำจำกัดความของ การกำหนดกลยุทธ์ในการทำงานในอนาคตว่า เป็นชุดของความคิดริเริ่มเพื่อจัดการกับความไม่แน่นอนและเหตุการณ์ในอนาคตที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในมุมมองของวิธีการ เวลา ความสำเร็จของงาน แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงบทบาทและรูปแบบการทำงาน ซึ่งแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีความถี่ยิ่งขึ้น การพัฒนากลยุทธ์จึงต้องมีการดำเนินการที่รวดเร็ว และทวนซ้ำบ่อยขึ้น ซึ่ง Gartner ได้นำเสนอ 8 ขั้นตอน สร้างกลยุทธ์ การทำงานแห่งอนาคต ที่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trends Analysis) 2. การสร้างสถานการณ์ (Scenario Creation) และ 3. วางแผนการทำงานแห่งอนาคตเชิงกลยุทธ์ (Future of Work Strategic Planning)
|
ในการบริหารงานอย่างทรงพลังในสภาพแวดล้อมแบบ Hybrid Workplace คือ การส่งเสริมให้พนักงานสามารถทุ่มเทพลังกายใจในการทำงาน บนบริบทของความสัมพันธ์ที่แตกต่างออกไปจากการทำงานแบบ Face-to-face ทำอย่างไรให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคของการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงขอนำเสนอ 4 แนวทางที่สำคัญ
|
เมื่อในปัจจุบันนี้องค์กรต่างต้องการผู้ที่มีความสามารถ กลยุทธ์ในการสรรหาจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการได้มาซึ่งผู้ที่มีศักยภาพตามที่องค์กรมุ่งหวัง
จากผลการวิจัยของ Gartner พบว่า มีเพียง 16% ของกระบวนการสรรหาที่มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของทักษะที่ต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งในโลกแห่งการทำงานและตลาดแรงงานที่การสรรหาแบบเดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป |
บทความ เสวนาทบทวน เดฟ อูลริช โมเดล
อังคาร 13 ธันวาคม 2565 HR ได้เรียนรู้อะไรจาก Dave Ulrich model ตลอดเส้นทางความคิดของเขา 25 ปีที่ผ่านมา เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือน เราก็เข้าสู่งานเฉลิมฉลองอาหารสมอง “Thailand HR Day 2022 Hybrid Conference, RE - INVENT HR prepare for the unprepared” ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 11-12 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว เป็นงานใหญ่ส่งท้ายปี ที่ PMAT ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อส่งมอบของขวัญที่ดีที่สุดให้กับวิชาชีพ HR หนึ่งในแม่เหล็กสำคัญของงานสัมมนานี้คือ การบรรยายเต็มอิ่ม 2 ชั่วโมงเต็มของ “Professor Dave Ulrich” และทีมงาน แบบ live stream ในหัวข้อ Reinventing HR’s future: Value creation, contribution, and HR work เพื่อฟันธงกันไปเลยว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ตามแทบไม่ทัน HR จะอยู่กันอย่างไร และทำงานอย่างไร เพื่อให้ตัวเองและองค์กรรอดไปด้วยกัน |
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 2/6,2/7 ซอยลาดพร้าว 113 (ชื่นสุข) ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทรศัพท์: 0-2374-0855 www.pmat.or.th อีเมล info@pmat.or.th เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: 0993000132556 (สำนักงานใหญ่) | นโยบายความเป็นส่วนตัว Powered by DIMS |