https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
Menu Left
ร่าง พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
 


FAQ 

1. พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล คืออะไร
  • กฎหมายที่กำหนดมาตรฐานความรู้ ความสามารถ มาตรฐานการปฏิบัติติงาน และมาตรฐานจรรยาบรรณ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน

2. ทำไมต้องมี พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
  • วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญต่อประเทศอย่างมาก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ในองค์การต่าง ๆ รวมไปถึงความสงบสุขภายในประเทศ ตลอดจนการมีงานทำของประชากร
  • การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีในทุกองค์การ มีส่วนช่วยลดภาระของสังคมและภาครัฐในการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยและสุขอนามัยของผู้ทำงานให้มีคุณภาพ
              จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์การเพื่อทำหน้าที่ควบคุมมาตรฐานการทำงานและจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
              จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำหน้าที่ดังกล่าวนี้และมีองค์กรควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

3. มี พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล แล้วใครได้ประโยชน์อย่างไร
  • นักบริหารทรัพยากรบุคคล
             - ได้รับการยกระดับเป็นวิชาชีพเฉพาะ
             - เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ HR
             - มีสภาวิชาชีพเป็นตัวแทนในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
  • พนักงาน / ลูกจ้าง
             - มีความเชื่อมั่นในระบบ HR
             - มั่นใจได้ว่าได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานที่ทำงาน
             - มีผลต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและครอบครัว
  • นายจ้าง / เจ้าของกิจการ
             - มั่นใจได้ว่านักบริหารทรัพยากรบุคคลมีความรู้ ความสามารถอย่างมืออาชีพ
             - มีนักบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถดูแลพนักงานให้ทำงานอย่างมีความสุข ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ มีความสามารถสร้างงานที่มีคุณภาพ และขับเคลื่อนเป้าหมายองค์การให้สำเร็จ
  • สังคมและประเทศ
             - ประชากรในวัยทำงานได้รับการดูแลให้มีความถึงพร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และคุณภาพชีวิต อันเป็นการยกระดับศักยภาพแรงงานของประเทศ
             - นักลงทุนจากต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในการมาลงทุนในประเทศไทย

4. พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล บังคับใช้เมื่อไหร่
  • ตามที่กฎหมายประกาศใช้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอร่างพ.ร.บ.ให้รัฐสภาพิจารณาประกาศเป็นกฎหมาย

5. มี พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องสอบหรือต้องอบรมมั้ย
  • ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ประเภทสมาชิกสามัญหรือสมาชิกสมทบ (มาตรา ๕๑)
  • ผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพรับอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ (มาตรา ๕๒)
  • ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพได้ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในพ.ร.บ.
  • หากผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่พรบ.กำหนดในเรื่องของความรู้ควาสามารถ สามารถสมัครเข้ารับการอบรมตามที่สภาวิชาชีพหรือหน่วยงานฝึกอบรมต่าง ๆ ที่สภาวิชาชีพให้การรรับรอง และนำเอกสารรับรองการผ่านการอบรมมาแสดงต่อสภาวิชาชีพ เพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ

6. ทำไมต้องมีสภาวิชาชีพ
  • ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพ และมาตรฐาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
  • ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และความมั่นคงในวิชาชีพของสมาชิก
  • ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่บุคคลและองค์กรในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านบริหารค่าจ้างและสวัสดิการด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสุขอนามัยของผู้ทำงาน
  • เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยในการแสดงบทบาทสำคัญในสังคมเพื่อปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล หรือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของสังคม
  • ควบคุม กำกับดูแลมาตรฐานวิชาชีพทรัพยากรบุคคล ตลอดจนควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคลให้ถูกต้องตามจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทรัพยากรบุคคล
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษาวิจัย การพัฒนาวิชาการด้านทรัพยากรบุคคลให้ทันสมัยและก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ

7. ผู้ทำงานด้าน HR ในปัจจุบันต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องขึ้นทะเบียนเมื่อไหร่ และยังสามารถทำงาน HR ได้มั้ย
  • ศึกษาข้อกำหนดในพ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล และเตรียมความพร้อมด้านคุณสมบัติความรู้ความสามารถ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน และจรรยาบรรณวิชาชีพที่ต้องรู้และปฏิบัติ เพื่อสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ
  • การขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก สมัครและลงทะเบียนได้เมื่อพ.ร.บ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลประกาศใช้ และตามกำหนดเวลาที่ระบุในพ.ร.บ.ที่ประกาศใช้
  • ผู้ที่ทำงาน HR อยู่ในปัจจุบัน ยังคงทำงาน HR ต่อไปได้ แต่ถ้าไม่ได้ขึ้นทะเบียนรับรอง จะทำหน้าที่บางอย่างที่พ.ร.บ.กำหนดห้ามมิให้ผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตทำได้ (ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้แล้ว)

ศึกษา ร่าง พรบ.วิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล ได้ที่ https://drive.google.com/drive/u/2/folders/1GkDP3x3x15KGVX8wd4-rVzFxrt1EGimu