https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มอาชีพนักทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศแคนนาดา
กลับš
  การกำหนดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มอาชีพนักทรัพยากรมนุษย์ของประเทศแคนนาดาดำเนินการโดย สภาความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์แห่งแคนนาดา (Canadian Council of Human Resources Associations-CCHRA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ.1994 โดยความร่วมมือจากองค์การด้านทรัพยากรมนุษย์ทั่วทั้งแคนาดา CCHRA มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้การประกอบอาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์ในแคนาดา และได้รับการยอมรับ มีความน่าเชื่อถืออย่างสูง โดย CCHRA ดำเนินการด้วยมาตรการเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
การดำเนินการเพื่อประเมินและรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์ดำเนินการผ่านหน่วยงาน The Certified Human Resources Professional (CHRP) ซึ่งการรับรองมาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ซึ่งสะท้อนความเชื่อมันในความเป็นมืออาชีพของผู้ปฏิบัติงานด้าน HR ในกลุ่มของนายจ้างรวมทั้งในระดับองค์การธุรกิจ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงความสำเร็จของ CHRP เห็นได้จากการสำรวจโดย Payscale ในปี 2012 พบว่าร้อยละ 45 ของนักทรัพยากรมนุษย์ระดับทั่วไป(HR generalists) ที่ผ่านการรับรองจาก CHRP สามารถขึ้นสู้ตำแหน่ง ผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR Managers) ได้ภายใน 5 ปี ขณะที่ผู้ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองโดย CHRP สามารถขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวได้เพียงร้อยละ 21

ภาพ แสดงผลการสำรวจ อัตราของการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ของผู้ผ่านการรับรองจาก CHRP
ที่มา สำรวจโดย Payscale ในปี 2012 (http://www.chrp.ca/?page=Become_CHRP)
ความสำเร็จของ CHRP โดยพิจารณาจากอัตราความสามารถในการเลื่อนตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานด้าน HR ในตำแหน่งอื่นๆเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ผ่านการประเมินจาก CHRP และผู้ที่ไม่ได้ขอรับการประเมิน ในช่วงระยะเวลา 5 ปี มีผลการสำรวจดังนี้
Job Title Five Years Ago With CHRP Without CHRP
Human Resources (HR) Assistant 69% 52%
Human Resources (HR) Administrator 47% 25%
Human Resources (HR) Generalist 51% 25%
Human Resources (HR) Manager 25% 14%
Human Resources (HR) Director 18% 13%

ตาราง ผลสำรวจการเปรียบเทียบอัตราการเลื่อนตำแหน่งของผู้ที่ผ่านการประเมินจาก CHRP และผู้ ที่ ไม่ได้ขอรับการประเมิน
ที่มา The Value of a CHRP: More Promotions and Better Pay, Payscale.2012

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนในตำแหน่งงานต่างๆของผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับระหว่าง ผู้ที่ผ่านการประเมินจาก CHRP และผู้ที่ไม่ได้ขอรับการประเมิน พบว่า ผู้ที่ผ่านการประเมินในทุกตำแหน่งได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงกว่าผู้ไม่ขอรับการประเมิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

HR Job Title Median, Annual
Pay without CHRP Median, Annual
Pay with CHRP Pay Increase for
CHRP Holder
Human Resources (HR) Assistant $38,200 $39,400 3%
Human Resources (HR) Administrator $41,700 $44,300 6%
Human Resources (HR) Generalist $49,100 $52,600 7%
Human Resources (HR) Manager $63,100 $72,900 16%
Human Resources (HR) Director $102,900 $105,000 2%
Vice President (VP),
Human Resources (HR) $171,000 $177,000 4%

ตาราง ผลสำรวจการเปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนของผู้ที่ผ่านการประเมินจาก CHRP และผู้ ที่ ไม่ได้ขอรับการประเมิน
ที่มา The Value of a CHRP: More Promotions and Better Pay, Payscale.2012
(http://c.ymcdn.com/sites/www.chrp.ca/resource/resmgr/pdf/payscale-hrpa-value-of-chrp.pdf)


ด้านการเพิ่มขึ้นของอัตราการจ้างงาน พบว่า ผู้ที่ผ่านการประเมินจาก CHRP ได้รับการจ้างงานในปี 2007 คิดเป็นร้อยละ 36 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 67 ในปี 2011 การเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 5 ปี คิดเป็น ร้อยละ 86

ภาพ แสดงผลการสำรวจ การเพิ่มขึ้นของอัตราการจ้างงาน ของผู้ผ่านการรับรองจาก CHRP
ที่มา The Value of a CHRP: More Promotions and Better Pay, Payscale.2012
(http://c.ymcdn.com/sites/www.chrp.ca/resource/resmgr/pdf/payscale-hrpa-value-of-chrp.pdf)

นอกเหนือจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในข้างต้นแล้ว สิ่งที่ผู้เข้ารับการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนักทรัพยากรมนุษย์จะได้รับจาก CHRP คือองค์ความรู้และการพัฒนาความสามารถในวิชาชีพ ประกอบด้วย
1.การพิสูจน์ความเชี่ยวชาญ (Proven Expertise) โดยที่ CHRP จะกำหนดปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินแสดงวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการวัดความสามารถและประสบการณ์ของผู้เข้ารับการประเมินได้เป็นอย่างดี ผลการประเมินนี้จะทำให้ผู้ว่าจ้างและเพื่อนร่วมงานยอมรับความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลของผู้ผ่านการรับรอง
2.การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continual Learning) CHRP มีแบบทดสอบที่จะใช้ประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการประเมินโดยผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแก้ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและสามารถพัฒนาไปสู่องค์ความรู้สำหรับการเป็นที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ในอนาคตได้
3.การพิสูจน์ความมุ่งมั่น (Demonstrated Commitment) CHRP มีแบบทดสอบที่มีความเข้มข้นและครอบคลุม (comprehensive exam) มีวิธีการเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยที่ใช้เวลาในการถ่ายทอดระยะสั้นแต่ผู้เข้ารับการรับรองจะสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ในระยะยาว โดยผู้ที่ผ่านการประเมินจาก CHRP จะได้รับการยืนยันคุณสมบัติในด้านความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงทักษะด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งจะได้รับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียนซึ่งล้วนเป็นผู้มีความสามารถด้าน HR ที่ถูกคัดเลือกมาจากหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อเข้ารับการอบรมและประเมินมาตรฐานอาชีพ
4.เกิดชุมชนความรู้ (Knowledge Community) ผู้เข้ารับการประเมินจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์จากทั่วแคนาดา และจะกลายเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้าน HR
5.ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ดี (Ethical Behavior) CHRP ได้กำหนดมาตรฐานระดับสูงเกี่ยวกับพฤติกรรมทางจริยธรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยที่ได้ใช้ CCHRA National Code of Ethics เป็นมาตรฐานซึ่งมีความครอบคลุมในเรื่องการรักษาความลับ การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น ผู้ที่ผ่านการประเมินจะได้รับการยอมรับจากผู้ว่าจ้างและเพื่อนร่วมงานว่าเป็นผู้ที่มีจริยธรรมสำหรับการประกอบวิชาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์
คุณสมบัติของผู้สมัคร
CHRP มุ่งที่จะให้การรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ HR ในระดับชาติ โดยเน้นให้ผู้ผ่านการประเมินเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสดงบทบาทเชิงกลยุทธ์และมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเชิงธุรกิจ ดังนั้นคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการประเมิน จึงถูกกำหนดไว้ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นสมาชิกที่ดีของสมาคมทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาค (provincial HR association)
2. ต้องผ่านการทดสอบความรู้แห่งชาติ (National Knowledge Exam-NKE) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
3. มีคุณวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง
4. ต้องมีประสบการณ์และทำงานในสายงาน HR อย่างน้อย 3 ปี (นับย้อนกลับไปภายใน 10 ปี) เป็นผู้มีประสบการณ์ในระดับมืออาชีพและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ของตนได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการหรือหัวหน้างาน และมีประสบการณ์อย่างน้อย 2 ประการ ใน 7 ประการของสมรรถนะที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 1) การปฏิบัติงานวิชาชีพ 2) ประสิทธิผลองค์การ 3) รับพนักงาน 4) แรงงานสัมพันธ์ 5) การบริหารค่าตอบแทน 6) การเรียนรู้ขององค์กรและการฝึกอบรม-การพัฒนา และ 7) อาชีวอนามัยความปลอดภัยและสุขภาพ
ทั้งนี้ผู้ที่เป็นสมาชิกของ CHRP ต้องต่อสมาชิกภาพทุกปี และผู้ที่ผ่านการประเมินจะต้องรักษาสมาชิกภาพของการเป็นสมาชิกของสมาคมทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาค และ CHRP โดยต่ออายุใบรับรองทุก 3 ปี และตลอดเวลา 3 ปีที่ถือใบรับรองผู้ผ่านการรับรองต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาอาชีพที่จัดขึ้นโดยสมาคมทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาค โดยต้องได้คะแนนรวม 100 คะแนน กิจกรรมต่างๆประกอบด้วย การเข้าร่วมสัมมนาหรือการประชุม การเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย การเรียนรู้ที่ดำเนินการด้วยตนเอง การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านวิชาชีพ การให้คำปรึกษาหรือดำรงตำแหน่งในสมาคมหรือองค์การต่างๆ การทำวิจัยในหัวข้อเกี่ยวข้องกับHR มีงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารหรือการเขียนตำราเรียนที่เกี่ยวข้องกับ HR หากในระยะเวลา 3 ปี ไม่สามารถทำภารกิจการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ต้องยื่นเรื่องแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อ CHRP ไม่เช่นนั้นจะถูกเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ และหากต้องการสมัครเข้ารับการรับรองใหม่ต้องเริ่มจากกระบวนการสอบ NKE ใหม่
รายละเอียดการกำหนดระดับคุณวุฒิ
ผู้ขอเข้ารับการประเมินและขอรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนักทรัพยากรมนุษย์ของแคนาดา ต้องผ่านการทดสอบความรู้แห่งชาติ (National Knowledge Exam) โดยเป็นการจัดสอบโดย Certified Human Resource Professional – CHRP ร่วมกับ สมาคมทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาค (provincial HR association)
การทดสอบความรู้แห่งชาติ เป็นการประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ อาทิ ข้อเท็จจริงพื้นฐาน นโยบาย วิธีการปฏิบัติงาน กฏหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย เรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของผู้บริหารและแรงงาน สหภาพแรงงานและการเจรจาต่อรอง ระเบียบและกระบวนการต่างๆของการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน สิทธิมนุษยชนในส่วนของการจ้างงานและการบริหารค่าจ้างตามกฎหมาย เนื้อหาที่ใช้ในการสอบแบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
1) การปฏิบัติงานวิชาชีพ (Professional Practice)
2) ประสิทธิผลองค์การ (Organizational Effectiveness)
3) รับพนักงาน (Staffing)
4) แรงงานสัมพันธ์ (Employee & Labour Relations)
5) การบริหารค่าตอบแทน (Total Compensation)
6) การเรียนรู้ขององค์กรและการฝึกอบรม-การพัฒนา (Organizational Learning, Training & Development)
7) อาชีวอนามัยความปลอดภัยและสุขภาพ (Occupational Health, Safety & Wellness)

โครงสร้างของแบบทดสอบ NKE ประกอบด้วยคำถามรวม 160 คำถามออกข้อสอบโดย CCHRA และผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรมนุษย์ มีเวลาในการทำแบบทดสอบ 3 ชั่วโมง 15 นาที มีการสอบ Pre-tested โดยการเพิ่มคำถามเข้าไปอีก 10 ข้อ แต่ผลคะแนนของ Pre-test ไม่มีผลต่อการตัดสิน ข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก (multiple choice questions) ทั้งนี้เพื่อต้องการทดสอบความแม่นยำด้านวิชาการของผู้รับการประเมิน เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าข้อสอบแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก มีความยืดหยุ่นและ มีแนวโน้มที่จะเชื่อถือได้มากกว่ารูปแบบอื่นๆ สามารถรองรับความหลากหลายของทักษะความรู้และความสามารถที่ต้องการวัดได้ดีกว่า
การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ NKE ผู้สมัครขอเข้ารับการประเมินสามารถทำได้โดยการศึกษาจาก online courses การเข้าร่วมสัมมนา เข้าดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องได้จากเว็ปไซด์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเข้าไปศึกษาในส่วนของ Required Professional Capabilities (RPCs®) ในเว็ปไซด์ของ CHRP ซึ่งได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพระดับมืออาชีพไว้
การลงทะเบียนสมัครสอบ NKE ต้องลงทะเบียนกับสมาคมทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาค และลงทะเบียนในการตรวจสอบจริยธรรมทางวิชาชีพตามเกณฑ์ของCCHRS โดยการลงทะเบียนจะต้องทำก่อนมีการเปิดสอบอย่างน้อย 60 วัน โดยกำหนดการสอบจะแสดงไว้บนเว็ปไซด์อย่างน้อยหนึ่งปี ซึ่งโดยปกติการสอบ NKE จะกำหนดไว้เป็นวันเสาร์แรกของเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของแต่ละปี ตัวอย่างกำหนดการสอบในปี ค.ศ.2014 มีดังนี้

ภาพ ตารางการสอบ NKE ประจำปี ค.ศ. 2014
ที่มา http://www.chrp.ca/?page=Exam_Dates

ผู้ต้องการเข้ารับการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานอาชีพ สามารถสมัครสอบ NKE ในรอบเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2014 ได้ภายในวันที่ 2 กันยายน 2014 และผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครสอบในรอบเดือนมิถุนายน ค.ศ.2015 ต้องสมัครสอบภายในวันที่ 7 เมษายน 2015
ค่าธรรมเนียมในการสอบขึ้นอยู่กับแต่ละสมาคมทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละภูมิภาค โดยค่าธรรมเนียมจะไม่คืนให้เมื่อหมดระยะการลงทะเบียนแล้ว ผู้ที่มีความประสงค์จะเลื่อนการสอบต้องแจ้งก่อน 7 วันก่อนสอบทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการเลื่อนสอบแตกต่างกันแล้วแต่สมาคมทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละภูมิภาค
ผลการสอบจะถูกแจ้งไปที่ผู้สมัครเข้ารับการทดสอบประมาณ 8 สัปดาห์หลังจากวันสอบ โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ ผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบ 3 ครั้งติดต่อกันต้องเว้นระยะการสอบ 1 ปี ก่อนจึงจะสอบครั้งที่ 4 ซึ่งถือเป็นครั้งสุดท้ายได้ ส่วนการสอบครั้งที่ 5 ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาคมทรัพยากรมนุษย์ระดับภูมิภาค ช่วงระยะเวลาที่เว้นจากการสอบ 1 ปี ผู้สมัครรับการประเมินจะได้รับการสนับสนุนด้วยหลักสูตรการเตรียมสอบ NKE
ตัวอย่างข้อสอบ National Knowledge Exam
ตัวอย่างข้อสอบหมวด Organizational Effectiveness

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f
เนื้อหาของคำถามในหมวด Organizational Effectiveness ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ แรงจูงใจและความพึงพอใจของพนักงาน(employee motivation and satisfaction) การวิเคราะห์งาน (Job analysis) ผลิตภาพขององค์การ (organizational productivity) การวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ และการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ (human resources planning and corporate strategic planning) การวิเคราะห์แนวโน้ม(Trend analysis) การคาดการณ์อัตรากำลัง (forecasting labour demand) ประสิทธิภาพของการทำงาน(employee performance) วิธีการประเมินผลการปฏิบัติ (Performance appraisal methods) รวมถึง Quality circles เป็นต้น
ตัวอย่างข้อสอบหมวด Professional Practice in Human Resources

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f

เนื้อหาของคำถามในหมวด Professional Practice in Human Resources ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resources Information Systems-HRIS) การออกแบบองค์การ (organization design) การจัดการความหลากหลาย (diversity management) การจัดการปัญหาการเลือกปฏิบัติ (systemic discrimination) ความรู้ในเรื่องต้นทุนคงที่ (fixed cost) เป็นต้น

ตัวอย่างข้อสอบหมวด Total Compensation

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f

เนื้อหาของคำถามในหมวด Total Compensation ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ วิธีการวิเคราะห์ความล่าช้า และกลยุทธ์ในการกำหนดระดับค่าตอบแทน (a method used to analyze whether a lead, lag, or match compensation-level strategy) วิธีการในการประเมินผลงาน (method of job evaluation) นโยบายค่าตอบแทนขององค์กร (Compensation policy of the organization) สภาวะตลาดแรงงาน (Labour market conditions) ความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของนายจ้าง (Employer's ability to pay) ระบบการจัดประเภทงาน (job classification system)โปรแกรมเพิ่มแรงจูงใจ (incentive compensation program) ย่อมาโครงการสำหรับจูงใจให้พนักงานมีความรู้สึกว่าตนเองมีความเป็นเจ้าของบริษัท (Employee Stock Ownership Plan-ESOP) สวัสดิการแบบยืดหยุ่น (flexible benefit program) การจ่ายค่าแรงอย่างเท่าเทียมตามกฏหมาย (pay equity law-เป็นกฏหมายข้อหนึ่งใน Employment Equity Act ของแคนาดา) แผนการกำหนดเงินบำนาญ (pension plan) โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้แล้ว (Defined benefits plan) แผนการจ่ายเงินสมทบ (Contributory plan) แผนการจ่ายเงินประเภทไม่สมทบ (Non Contributory plan) โครงการสมทบเงิน (Defined contribution plan) ระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ (effective compensation system) กลยุทธ์การให้รางวัล (reward strategy) และ แรงจูงใจในการทำงาน (Work motivation) เป็นต้น
ตัวอย่างข้อสอบหมวด Organizational Learning Training and Development

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f

เนื้อหาของคำถามในหมวด Organizational Learning Training and Development ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ เกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพและผลของโปรแกรมการฝึกอบรมขององค์การ(The criteria for evaluating the effectiveness and results of corporate training programs) เครื่องมือในการประเมินองค์การ (evaluation methods organizations) แผนงานของผู้จัดการและการวางแผนอาชีพและเป้าหมายของพนักงาน (Managers plan and employees' career planning and goals) การลงทุนในการฝึกอบรมขององค์การ (organizational training investments) ทฤษฎ๊การเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) การฝึกอบรมการเรียนการสอนงาน (Job instruction training) Role play (การแสดงบทบาท) การสร้างแบบจำลองพฤติกรรม (Behaviour modeling) วัฒนธรรมการฝึกอบรม (The training culture) วัฒนธรรมสำหรับการถ่ายโอนความรู้ (The culture for transfer) เป็นต้น

ตัวอย่างข้อสอบหมวด Employee and Labour Relations

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f

เนื้อหาของคำถามในหมวด Employee and Labour Relations ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ ระบบวินัยในองค์การ (effective disciplinary system) สหภาพแรงงาน (union organizing) สหภาพแรงงานธูรกิจ(Business unionism) การเจรจาต่อรอง (collective bargaining) รวมถึงความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับบทบัญญัติข้อตกลงร่วมกัน (The collective agreement provision) และแนวคิดที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย The pattern bargaining area, The bargaining zone และ The deadlock bargaining area ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดการนัดหยุดงาน (strike activity) เป็นต้น

ตัวอย่างข้อสอบหมวด Staffing

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f

เนื้อหาของคำถามในหมวด Staffing ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการสรรหาและการเลือก(recruitment and selection process) การปฏิบัติที่ส่งเสริมทางบวก (a practice that promotes positive) การสรรหาที่ไม่เลือกปฏิบัติ (non-discriminatory recruitment perceptions) การเลือกวิธีการสัมภาษณ์งานพนักงาน (Employment interviews) ประกอบด้วย การสัมภาษณ์อย่างไม่มีโครงสร้าง (Nondirected or unstructured interview) การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างของคำถาม (Structured interview) การสัมภาษณ์แบบ Panel interview และการสัมภาษณ์ที่ต้องการทราบพฤติกรรมของผู้ตอบคำถาม (Behavioral interview) เป็นต้น

ตัวอย่างข้อสอบหมวด Occupational Health and Safety

ที่มา http://www.chrp.ca/surveys/survey.asp?qs=9cb5f2db49a4f820e1dc65173b06e74b9f87d84dfd3f

เนื้อหาของคำถามในหมวด Occupational Health and Safety ครอบคลุม ความรู้เกี่ยวกับ วัตถุที่เป็นอันตรายในสถานที่ทำงาน (workplace hazardous materials) การประเมินภาวะความเครียดในการทำงาน การเตรียมการรองรับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน อาทิ อุบัติเหตุก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สิน (Accidents resulting in property damage) อุบัติเหตุก่อให้เกิดความสูญเสียเวลา (Accidents resulting in lost-time injuries) การเตรียมแผนการอพยพ (effective evacuation plan) เป็นต้น


กระบวนการในการขอรับการทดสอบเพื่อรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักบริหารทรัพยากรบุคคลของสถาบัน CHRP

หมายเหตุ หากในระยะเวลา 3 ปี ไม่สามารถทำภารกิจการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ต้องยื่นเรื่องแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อ CHRP ไม่เช่นนั้นจะถูกเพิกถอนใบรับรองและต้องสอบ NKE ใหม่
แผนภาพ แสดงกระบวนการขอรับการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพของ CHRP