สำรวจอัตราค่าจ้างและสวัสดิการ
กลับ
หลักการและเหตุผล
การบริหารอัตราค่าจ้างเงินเดือนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบริหารทรัพยากรบุคคล เนื่องจากทุกบริษัทจำเป็นที่จะต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้แก่พนักงาน แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ บริษัทจะทราบได้อย่างไรว่า ค่าตอบแทนของเรานั้นสามารถแข่งขันกับตลาดได้หรือไม่ ระดับการจ่ายค่าตอบแทนหรือเงินเดือนของบริษัทเรานั้น สามารถที่จะดึงดูดและรักษาพนักงานได้หรือไม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสำรวจอัตราค่าจ้างและสวัสดิการของธุรกิจในรายประเภทของธุรกิจประจำปี
2. เพื่อได้ข้อมูลการสำรวจอัตราค่าจ้างและสวัสดิการมาอ้างอิงได้ในระดับองค์การและระดับประเทศ
3. เพื่อเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพ HR
4. เพื่อให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลซึ่งกันและกัน
วิธีการสำรวจ
1. ดำเนินการจัดส่งจดหมายเชิญชวนผู้เข้าร่วมโครงการสำรวจ
2. รับสมัครและจัดแบ่งประเภทกลุ่มธุรกิจ
3. พัฒนาแบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจ
4. ดำเนินการเปิดประชุมผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ เพื่อทำการ Benchmarking Job และ ตกลงทำความร่วมใจร่วมกัน เกี่ยวกับการกรอกแบบสอบถาม
5. ประสานงานกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลและดำเนินการสรุปผล
6. ดำเนินการวิเคราะห์ผล แปรค่าตามหลักสถิติ โดยนักวิเคราะห์ และทีมผู้บริหารโครงการ
7. จัดพิมพ์และดำเนินการเป็นรูปเล่ม
8. จัดประชุมแถลงผลการสำรวจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อชี้แจงผลการสำรวจ
การดำเนินการรับ - ส่งข้อมูล
ตอบแบบสอบถาม และข้อมูลเงินเดือนของบริษัท ส่ง e-mail : survey@pmat.or.th
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
เดือนมิถุนายน – ตุลาคม ของทุกปี
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ที่ปรึกษาโครงการ
1. ดร.ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ
นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
คณะทำงานโครงการฯ
2. คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร ประธานคณะทำงานโครงการฯ
3. คุณวชิราภรณ์ แสงพายัพ ผู้จัดการสมาคมฯ
4. คุณจารุภา สุวรรณเวช หัวหน้าฝ่ายวิชากร
5. คุณธนิสา แดงสี เจ้าหน้าที่วิชาการ
6. คุณภัทรรัมภา วงศ์นาถ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติฯ
ข้อมูลผลลัพธ์ภายในรายงานผลการสำรวจอัตราค่าจ้าง และสวัสดิการ
1. ค่าจ้างมูลฐาน
- โครงสร้างเงินเดือน
- การขึ้นเงินเดือนประจำปี
2. ผลการสำรวจอัตราเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่
- ระยะเวลาทดลองงาน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ระดับปริญญาตรี
- ระดับปริญญาตรี (ต่างประเทศ)
- ระดับปริญญาโท
- ระดับปริญญาโท (ต่างประเทศ)
3. สวัสดิการและเงินได้อื่นๆ
- วันหยุดประจำปี
- วันลาประจำปี
- การจ่ายโบนัสประจำปี
- ค่าตำแหน่งงาน
- ค่ารถ/ค่าน้ำมัน
- ค่าครองชีพ
- ค่าเบี้ยขยัน
- ค่าอาหาร
- ค่าวิชาชีพ
- ค่าคอมมิชชั่น
- เบี้ยเลี้ยง
- ค่าตอบแทนความยากลำบาก
- ค่าล่วงเวลา
- การรักษาพยาบาล
- การเกษียณอายุ
- สวัสดิการกรณีเสียชีวิต
4. สวัสดิการสำหรับผู้บริหาร
- รถยนต์ประจำตำแหน่งที่จัดให้
- ค่าน้ำมัน
- ค่าประกันรถยนต์
- ค่าซ่อมบำรุงรถยนต์
- โทรศัทพ์มือถือ
- หุ้น
- คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
- สิทธิในการเป็นสมาชิกสโมสร
- สัมมนาต่างประเทศ
- ภาษี
- ตรวจสุขภาพผู้บริหาร
- ที่จอดรถผู้บริหาร
- ที่พัก
5. การปรับอัตราค่าจ้างและการจ่ายโบนัสประจำปี
6. ค่าจ้างตามที่จ่ายจริง เปรียบเทียบลักษณะงาน (Benchmark Job) ในแต่ละตำแหน่งงานของธุรกิจ กว่า 184 ตำแหน่ง แยกตามสายธุรกิจ
- สายงานบัญชีและการเงิน
- สายงานออกแบบ
- สายงานการบริการลูกค้า
- สายงานบริหารทรัพยากรบุคคล
- สายงานธุรกิจประกันภัย
- สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สายงานโลจิสติกส์
- สายงานการแพทย์
- สายงานขายและการตลาด
- สายงานผลิต
- สายงานการประชาสัมพันธ์
- สายงานวิจัยและพัฒนา
- สายงานรับสร้างบ้าน
- สายงานศูนย์บริการรถยนต์
- สายงานพัฒนาธุรกิจ
- สายงานอื่นๆ
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
1. เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการฯ
องค์การละ 4,000 บาท (ไม่รวม VAT 7%) (ราคาสมาชิก)
องค์การละ 5,000 บาท (ไม่รวม VAT 7%) (ราคาผู้สนใจทั่วไป)
2. เข้าร่วมประชุมแนะนำขั้นตอนการดำเนินการ และแนะนำวิธีการกรอกข้อมูลที่สมาคม ฯ จัดขึ้นหลังจากตอบรับการเข้าร่วมแล้ว
3. ตอบคำถามในแบบสอบถามไม่น้อยกว่า 80%
4. ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับรายงานผลการสำรวจฯ องค์การละ 1 เล่ม
กำหนดการดำเนินโครงการฯ |
เดือน
|
1. ประชุมเปิดโครงการ |
พค.- มิย. |
2. จัดเก็บข้อมูล |
มิย. - กค |
3. ประมวลผล/จัดทำรูปเล่ม |
กค. - ตค. |
4. ประชุมปิดโครงการ |
ตค. - พย. |